รู้หรือไม่? จริงๆ แล้ว 1 ปีไม่ได้มี 365 วัน

รู้หรือไม่? จริงๆ แล้ว 1 ปีไม่ได้มี 365 วัน คำว่า “อธิก […]

รู้หรือไม่? จริงๆ แล้ว 1 ปีไม่ได้มี 365 วัน

คำว่า “อธิกสุรทิน อาจจะเป็นคำที่คนไทยไม่ค่อยคุ้นหูหรือไม่ค่อยได้ยินมากนัก โดยคำนี้เกี่ยวข้องกับปฏิทินหรือการนับวันเดือนปีโดยเฉพาะ คำว่า อธิกสุรทิน ประกอบด้วยคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตทั้งหมด อธิก- (อ่านว่า อะ-ทิ-กะ) หมายถึง เกิน หรือ เพิ่ม ส่วนคำว่า สุรทิน มาจาก สุร + ทิน สุร ในที่นี้แปลว่า “พระอาทิตย์” ส่วนทิน แปลว่า “วัน”

การแบ่งปีตามหลักปฏิทินสากลแบ่งได้เป็นปีปกติมี 365 วัน และปีอธิกสุรทินมี 366 วัน โดยเพิ่มวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ขึ้นมาอีกหนึ่งวัน เพื่อให้หลักการของปีอธิกสุรทินมีความชัดเจน จึงกำหนดเป็นสูตรไว้ดังนี้

  1. ให้เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน ทุกๆ 4 ปี โดยนำเอาปี คศ.หารด้วย 4 ลงตัวถือว่าเป็น ปีอธิกสุรทิน
  2. ให้ปรับโดยถ้าปีหารด้วย 100 ลงตัวให้เป็นปีปกติ
  3. ถ้าปีหารด้วย 400 ลงตัว ให้ปรับไปเป็นปีอธิกสุรทินอีก

เหตุที่จะต้องมีปีอธิกสุรทินทุก 4 ปี เพราะตามระบบของปฏิทินทางสุริยคติ จะต้องเพิ่มวันเข้าไป 1 วันเพื่อให้ปีนั้นมี 366 วัน วันที่เพิ่มเข้าไปนี้เรียกว่า อธิกสุรทิน การที่ต้องเพิ่มวันเนื่องจากในปีหนึ่งๆ นั้นตามความเป็นจริงมีจำนวนวัน 365.25 วัน ไม่ใช่ 365 วันถ้วนอย่างที่เราเข้าใจ ดังนั้นเพื่อรวมเศษที่ตกค้างในแต่ละปีให้เป็น 1 วันได้ก็จะทำได้ทุกๆ 4 ปี ทำให้สะดวกในการนับจำนวนวันในแต่ละปี คือนับจำนวนถ้วนๆ โดยให้ปีที่ 1, 2, และ3 มี 365 วัน และปีที่ 4 มี 366 วัน เป็นดังนี้เรื่อยไปนั่นเอง

ขอบคุณข้อมูลจาก : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ วิกิพีเดีย